ไล่เรียงหาสาเหตุและความจริงอีกมุม “วิกฤตนมขาดตลาด”
ต้นตอเรื่องของสถานการณ์นี้มาจากกระแสบนโซเซียลมีเดีย มีผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ถึงปัญหาการหาซื้อนมพาสเจอร์ไรส์ยี่ห้อเมจิ โดยเฉพาะรสจืดฝาสีน้ำเงินที่หาซื้อยากจากทั้งผู้ประกอบการร้านกาแฟ และผู้บริโภคทั่วไป ทำให้ต้องหาสินค้าแบรนด์อื่นมาทดแทนเป็นการชั่วคราว
พาณิชย์ยืนยัน “นมพร้อมดื่ม” ไม่ขาดแคลน วอนห้างเติมชั้นวางสม่ำเสมอ
นมพาสเจอร์ไรส์ เอ็มมิลค์ ปรับราคาขึ้น 5 บาท มีผล 1 ส.ค. 66
จากนั้น บริษัทซีพี-เมจิ หนึ่งในผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก cpmeijithailand อธิบายสาเหตุว่า
เนื่องด้วยสถานการณ์น้ำนมดิบขาดแคลนอย่างต่อเนื่อง และ โคนมกำลังเข้าสู่ช่วงพักรีดนม ส่งผลให้สินค้ากลุ่มนมสดพาสเจอร์ไรส์ มีจำนวนจำกัด พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก และย้ำว่ากำลังพยายามหาน้ำนมดิบมาเพื่อผลิตสินค้าอย่างเต็มกำลังแต่เมื่อประกาศนี้ออกมาไม่นานนักก็มี ฟาร์มโคนม แห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ออกมาโต้กลับใจความทำนองว่า ข้อเท็จจริง น่าจะมาจากฟาร์มโคนมเลิกกิจการมากกว่า จึงทำให้นมขาดตลาด
ต่อมา 25 ก.ค. 2566 บริษัทแมรี่ แอน แดรี่ โปรดักส์ จำกัด ส่งหนังสือถึงผู้ประกอบการ เรื่องมีความจำเป็นปรับราคานมพาสเจอร์ไรส์ รสจืด ขนาด 2 ลิตร จากเดิม 86 บาท/แกลลอน เป็น 91 บาท/แกลลอน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2566 เป็นต้นไป สาเหตุจาก
- กิจการฟาร์มโคนมในประเทศลดลง จากปัจจัยต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งอาหาร โคนม เวชภัณฑ์ น้ำมัน ค่าแรงงาน เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- ช่วง Dry-Cow เดือน ก.ค.-ต.ค. ของทุกปี หรือช่วงแม่โคนมพักรีด ปริมาณนมดิบลดลงตามรอบปี
- กลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมเสนอขอปรับราคาผ่าน คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมแห่งชาติ หรือ มิลค์บอร์ด ปรับเพิ่ม 2.25 บาท/กก. ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น จึงขอปรับราคาสินค้าดังกล่าว
พาณิชย์ แจง ไม่เรียกขึ้นราคา แต่ ผู้ผลิตเลิกให้ส่วนลด
ขณะที่ร้อยตรีจักรายอดมณีรองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่ากรณีที่กลุ่มผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์เอ็มมิลค์ส่งหนังสือถึงผู้ประกอบการปรับราคาขึ้น5บาท ตั้งแต่วันที่1ส.ค.2566 ไม่ถือเป็นการขอปรับเพดานราคาสินค้ากลุ่มนมพาสเจอร์ไรส์ของผู้ประกอบการรายนี้
เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตนมได้ส่งหนังสือแจ้งให้กรมการค้าภายในทราบว่า การขึ้นราคาครั้งนี้ คือ การปรับส่วนลดด้านราคาของผู้ผลิต ซึ่งยันยันไม่ใช่เป็นการอนุมัติให้กลุ่มสินค้านมพาสเจอร์ไรส์
รวมถึงย้ำว่าแม้จะมีผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์อีกจำนวนหนึ่ง ส่งหนังสือมาให้กรมการค้าภายในพิจารณาขึ้นราคา แต่กรมฯไม่อนุมัติ ขอให้ตรึงราคาช่วยดูแลผู้บริโภคก่อนในช่วงนี้ ย้ำว่า ผู้ผลิตห้ามฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นม
เนื่องจากการขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นมทุกชนิด ต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เพราะนมพาสเจอร์ไซส์ เป็นสินค้าควบคุม แต่ทันทีที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมิลค์บอร์ด มีข้อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี ให้ปรับราคาน้ำนมดิบ ถึงเวลานั้น กระทรวงพาณิชย์ ก็ต้องดำเนินตาม มติ ครม.ต่อไป
กรมปศุสัตว์ ยอมรับ แม่โคนมหายไปจากระบบ 11 % เหตุต้นทุนอาหารสัตว์แพง
ขณะที่ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยอมรับปริมาณแม่โคนมในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้หายไประบบราว 11 % ทำให้น้ำนมดิบลดลง โดยปกติผลิตน้ำนมดิบได้วันละ 3,000 ตัน แต่ปัจจุบันเหลือ 2,800-2,900 ตัน แต่สถานการณ์ไม่ถึงขั้นขาดแคลนคำพูดจาก เว็บสล็อต777
สาเหตุที่น้ำนมดิบลดลง เพราะเกษตรกรเลี้ยงโคนมเลิกกิจการประมาณ 5 % เพราะไม่สามารถสู้ต้นทุนค่าอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น ขาดแรงงาน และราคารับซื้อน้ำนมดิบที่ไม่สมดุลกับราคาต้นทุน ประกอบกับในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายนของทุกปี เป็นช่วงพักรีดนม และคาดว่าปริมาณน้ำนมดิบจะกลับมาสมดุลมากขึ้นในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี
ปัญหามันคือ ต้นทุนมันสูง ต้นทุนเราก็พยายามต้นทุนการผลิต กรมปศุสัตว์ แจกเมล็ดพันธุ์หญ้า 50,000 ไร่ให้เกษตรกร เอาไปปลูก คาดอีก 1 เดือน หญ้าจะเริ่มตัดได้ นำมาใช้ทดแทนอาหารข้นเช่น มันสำปะหลัง และข้าวโพด ที่มีต้นทุนสูง
นสพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์
รอครม.ใหม่ เคาะ รับซื้อน้ำนมดิบเป็น 21.25 บาท/กก.
ข้อมูลจากศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ 210 แห่งทั่วประเทศ พบว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 มีแม่โครีดนมราว 260,000 ตัว ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ที่มีแม่โคนมราว 297,000 ตัว รวมลดลงราว 34,300 ตัว หรือราว 11 % ปริมาณน้ำนมดิบเฉลี่ย เดือนกรกฎาคม 2566 อยู่ที่ประมาณ 2,600 ตันต่อวัน ปรับลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 12 %
ส่วนจำนวนเกษตรกรที่ยังคงเลี้ยงโคนมในเดือนกรกฎาคม 2566 มีอยู่จำนวน 16,147 ราย ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 เลิกกิจการไป 894 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงราว 5 % ซึ่งที่ผ่านมา “มิลค์บอร์ด” ได้เห็นชอบปรับราคากลางรับซื้อน้ำนมดิบจาก 19 บาท เป็น 21.25 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว แต่ต้องรอครม.ชุดใหม่อนุมัติ
กรมปศุสัตว์ ขอ ผู้ผลิตนมพาสเจอไรส์ แก้ปัญหาน้ำนมดิบร่วมกัน
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ เผยว่า ปัจจุบันกรมปศุสัตว์ ดำเนินการ 4 แนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณน้ำนมดิบ คือ
1. แจกเมล็ดพันธุ์หญ้าให้เกษตรกรเพื่อลดต้นทุนอาหารสัตว์
2.ผลิตสูตรอาหารสัตว์แบบแห้ง ด้วยการผสมวิตามิน ซึ่งถูกกว่าอาหารสัตว์แบบข้น
3.ดำเนินโครงการร่วมกับกลุ่มผู้ผลิตนมพาสเจอไรส์เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมดิบในแม่โคนม
4. เชิญชวนเกษตรกรเลี้ยงโคนมเพิ่มขึ้น
โดย อธิบดีกรมปศุสัตว์ ทิ้งท้ายว่า การจะเพิ่มแม่โคนมในระบบต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพราะมิฉะนั้น หากจำนวนมากเกินไปก็จะมากเกินความต้องการขอท้องตลาด เสี่ยงที่จะต้องมาแก้ปัญหาปลายเหตุ ด้วยการลดวัวในระบบอีก ดังนั้น จึงเน้นไปที่การเพิ่มผลผลิตน้ำนมดิบในจำนวนแม่โคนมที่มีอยู่เดิม และพยายามร่วมมือกับภาคเอกชน ผู้ผลิตนมพาสเจอไรส์ สนับสนุนความรู้เชิงวิชาการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคนมไปยังเกษตรกร ซึ่งเชื่อว่าหากผู้ผลิตนมพาสเจอไรส์ ให้ความร่วมมือมากขึ้นจะทำให้ปัญหาน้ำนมดิบสถานการณ์ค่อยๆดีขึ้น
เราไปชักชวนผู้ผลิตนมพาสเจอไรส์ ที่ออกมาบอกว่า นมจะขาดตลาด อย่าหวังตระเวนซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรอย่างเดียว ผู้ผลิตนมพาสเจอไรส์ก็ต้องช่วยกันร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ไปส่งเสริมเกษตรกร ให้เลี้ยงโคนมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น จากโคนม 1 ตัว เคยผลิตนมดิบได้ 12 กก./ตัว จะทำยังไงให้เพิ่มขึ้นเป็น 20 กก./ตัว
นสพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์